วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การสังเกตพฤติกรรมในบุคคลออทิสติก

             การสังเกตพฤติกรรมในบุคคลออทิสติก 
บุคคลออทิสติก จะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ
     1.  ความสัมพันธ์ทางสังคม 

     2.  การสื่อสาร 
     3.  ความสนใจและกิจกรรม 

             ลักษณะพิเศษของบุคคลออทิสติก 
1. บกพร่องในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 
2. บกพร่องในด้านการสื่อสาร 
3. พฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปอย่างจำกัด และซ้ำ ๆ  บุคคลออทิสติกแต่ละคน มีความสามารถแตกต่างกันอย่างมาก ออทิสติกแต่ละคน จะแตกต่างกัน สภาพปัญหาต่างกัน แนวทางการรักษาจึงย่อมแตกต่างกัน

           สาเหตุการเกิดออทิสซึม 
    1.ทางพันธุกรรม อยู่ในระหว่างการศึกษา ค้นคว้า ยังไม่พบคำตอบที่  ชัดเจน แต่พบว่าฝาแฝด
จากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งเป็นออทิสติก อีกคนจะเป็นด้วย
    2.โรคติดเชื้อ ปัจจุบันยังไม่พบว่า เชื้อโรคชนิดใด ที่ก่อให้เกิด กลุ่มอาการออทิสซึม 
    3.ประสาทวิทยา จากการศึกษาของ Magaret Bauman กุมารแพทย์ จากโรงพยาบาล บอสตันซิติ พบว่า ออทิสติก จะมีความผิดปกติในสมอง 3 แห่ง คือ limbic system, cerebellum 
และ cerebellar circuits ปัจจุบัน พบว่า ในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง มีความผิดปกติ ดังนี้

1.Purkinje cells เหลือน้อยมาก 
2.ยังคงเหลือ "วงจร" เซลประสาท ซึ่งจะพบได้แต่ในตัวอ่อนเท่านั้น "วงจร" เซลประสาทที่
เหลือนี้จะเชื่อมต่อกับ ระบบประสาทส่วนกลางทั้งหมด
3.มีเซลประสาทเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในบริเวณ limbic system, hippocampus, 
amygdala

จากการค้นพบนี้ Bauman สรุปว่า ออทิสซึม มีความผิดปกติด้านพัฒนาการของสมองตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน ในระยะ 30 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ความผิดปกตินี้ ส่งผลให้ Limbic system ไม่มีการพัฒนา limbic system เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรม การรับรู้ และความจำ เมื่อบริเวณนี้ผิดปกติจึงมีผลให้ ความสัมพันธ์ทางสังคม ภาษาและการเรียน ผิดปกติไปด้วย (Bauman, 1991) 

4.Neurochemical Causes(สารประกอบทางเคมีในระบบประสาท) พบว่ามี neurotran
smittersบางตัว สูงผิดปกติ ได้แก่ serotonin, dopaminergic และ endogenous opioid 
systems แต่เมื่อใช้ยาที่ต้านสารเหล่านี้ กลับไม่ทำให้อาการต่าง ๆ ในออทิสซึมดีขึ้น
5.การบาดเจ็บ ก่อน ระหว่าง และหลังการคลอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น