วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการช่วยเหลือในการฝึกพูด


เทคนิคการช่วยเหลือในการฝึกพูด

เทคนิคการช่วยเหลือในการฝึก เรียงจากง่ายไปยาก  ดังนี้
         1. ช่วยจับทำ
คือ   เมื่อสั่งให้เด็กทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามถ้าเด็กไม่แสดงการรับรู้      รับฟังหรือปฏิบัติ
ตามคำสั่งไม่ได้     ให้จับมือทำกิจกรรมนั้นซ้ำๆ    โดยช่วยจับมือทำในทุกขั้นตอนที่ต้องการฝึก
และพูดบอกเป็นระยะ   เพื่อเป็นการชักนำให้เด็กเกิดความเข้าใจ       และทำกิจกรรมตามคำสั่ง
หรือคำพูดได้


         2. แตะนำ
คือ   การลดความช่วยเหลือจากการช่วยเหลือจากการช่วยจับทำลง     โดยแตะหลังมือ
ข้อมือ  หรือข้อศอกเด็ก   เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเองในขั้นตอนสุดท้าย


         3. เลียนแบบ
คือ การลดความช่วยเหลือ   จากการแตะนำลงโดยทำให้เด็กดู   แล้วให้เด็กทำตามเป็น
การสอนให้เด็กเรียนรู้ถึงการเลียนแบบตั้งแต่การเคลื่อนไหวร่างกายที่เห็นได้ชัดเจน    ไปจนถึง
การเลียนแบบการพูดต่อไป


         4. ทำตามคำสั่ง
คือ   เด็กสามารถเข้าใจคำพูดของผู้สอนและปฏิบัติตามคำสั่งได้      โดยไม่ต้องให้
การช่วยเหลือข้างต้นใดๆ    ซึ่งแสดงว่าเด็กมีความเข้าใจความหมายของคำพูด และมีความพร้อมที่จะฝึกการเปล่งเสียงพูดอย่างมีความหมายได้ต่อไป






เอกสารอ้างอิง
ศรีทนต์ บุญยานุกูล. ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา   คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คู่มือฝึกพูดเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง.โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
จังหวัดสมุทรปราการ .
และ http://www.specialed-center1.com

ข้อควรปฏิบัติที่จะช่วยให้เด็กออทิสติกพูดได้เหมาะสมตามวัย

ข้อควรปฏิบัติที่จะช่วยให้เด็กออทิสติกพูดได้เหมาะสมตามวัย



         1. พยายามพูดกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กกำลังมองหรือกำลังกระทำอยู่   เช่น   เห็นเด็ก
กำลังมองพัดลม     ควรพูดกับเด็กทันทีช้าๆออกเสียงให้ชัดเชน ว่า   “พัด – ลม”    “พัด – ลม”
เพื่อเป็นการสร้างเป้าหมายในการมองอย่างมีความหมาย
 

         2. ขณะที่มีเสียงหนึ่งเสียงใดเกิดขึ้นรอบตัว  เช่น   เสียงหมาเห่า ควรชี้ชวนให้เด็กสนใจ
ฟังอย่างสม่ำเสมอ   เพื่อเป็นการสร้างเปาหมายในการฟังให้มีความหมาย



         3. ขณะที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้กับเด็ก จงพูดให้เด็กฟังถึงสิ่งที่ท่านกำลังทำอยู่   เช่น    ขณะที่
กำลังใส่กางเกง    ควรสอนให้เด็กได้เรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆมีชื่อเรียกอย่างไร    เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
คำศัพท์และเนื้อหาของคำศัพท์



         4. ควรสอนจากความเข้าใจคำศัพท์ ก่อนนำมาสู่การพูด


         5. ควรสอนเด็กให้พูดโดยใช้คำนามที่มองเห็นเป็นรูปธรรม  เช่น  เริ่มสอนเรียกพ่อ แม่
ชื่ออวัยวะ พร้อมทั้งจับมือแตะส่วนนั้นๆ



         6. ควรให้เด็กมีโอกาสเปล่งเสียงออกมาบ้าง    โดยสอนพูดนำแล้วเว้นระยะให้เด็ก
ออกเสียง รอเวลาอย่าเร่งให้เด็กพูด



         7. ควรเป็นแบบอย่างในการพูดที่ดีให้แก่เด็ก คือ พูดให้ชัดเจน ใช้คำถูกต้อง


         8. อาจสอนโดยใช้โคลงกลอนหรือเพลง   เช่น   “ลูกเป็ดมันร้อง  (ก๊าบ ก๊าบ)   ลูกไก่
มันร้อง (เจี๊ยบ เจี๊ยบ)  ลูกหมามันเห่า  (บ๊อก บ๊อก)  ลูกแมวมันร้อง  (เมี๊ยว เมี๊ยว)”    จะทำให้เด็ก
รู้สึกพอใจ สนุกที่จะเปล่งเสียงพูดได้



         9. เด็กบางรายอาจต้องใช้เทคนิคพิเศษเพื่อดึงความสนใจ       และสร้างความพร้อมใน
การสอนภาษาและการพูด โดยเตรียมการมอง การฟังอย่างมีความหมาย ฝึกการเคลื่อนไหวปาก  ลิ้น  การเปล่งเสียง






เอกสารอ้างอิง
ศรีทนต์ บุญยานุกูล. ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา   คณะแพทยศาสตร์                                        มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คู่มือฝึกพูดเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง.โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
จังหวัดสมุทรปราการ .
และ http://www.specialed-center1.com

การฝึกพูดเด็กออทิสติก


การฝึกพูดเด็กออทิสติก

เมื่อเด็กเริ่มมีความเข้าใจ และมีความพร้อมในการสอนพูด    อาจใช้เทคนิคเพื่อช่วยให้
เด็กนึกคำตอบและสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ง่าย ดังนี้
         

          1. การพูดตาม เช่น
ขั้นที่ 1 : ผู้สอนถาม “นี่อะไร” ผู้สอนตอบ “ปลา”
เด็กพูดตาม “ปลา”
ขั้นที่ 2 : ผู้สอนถามซ้ำ “นี่อะไร”
เว้นระยะให้เด็กตอบ “ปลา”
         

          2. การพูดต่อคำ เช่น
ขั้นที่ 1 : ผู้สอนถาม “นี่อะไร” ผู้สอนตอบ “กระต่าย”
เด็กพูดตาม “กระต่าย”
ขั้นที่ 2 : ผู้สอนถาม “นี่อะไร” ผู้สอนตอบนำคำแรก “กระ……”
เว้นระยะให้เด็ก  ต่อคำ “……..ต่าย”
ขั้นที่ 3 : ผู้สอนถามซ้ำ “นี่อะไร”
เด็กตอบซ้ำทั้งคำ “กระต่าย”
          

          3. การพูดต่อเสียง เช่น
ขั้นที่ 1 : ผู้สอนถาม “นี่อะไร” ผู้สอนตอบ “หมา”
เด็กพูดตาม “หมา”
ขั้นที่ 2 : ผู้สอนถาม “นี่อะไร” ผู้สอนตอบนำเสียง “อึม……” (ลากเสียง)
เว้นระยะให้เด็กต่อเสียงให้เป็นคำ “หมา”
ขั้นที่ 3 : ผู้สอนถามซ้ำ “นี่อะไร”
เด็กตอบซ้ำทั้งคำ “หมา”
         

          4. การเดาจากรูปปาก เช่น
ขั้นที่ 1 : ผู้สอนถาม “นี่อะไร” ผู้สอนตอบ “ปาก”
เด็กพูดตาม “ปาก”
ขั้นที่ 2 : ผู้สอนถาม “นี่อะไร” ผู้สอนปิดริมปากแน่นขณะเด็กมองปาก
เว้นระยะให้เด็กตอบ “ปาก”
ขั้นที่ 3 : ผู้สอนถามซ้ำ “นี่อะไร”
เด็กตอบซ้ำ “ปาก”






เอกสารอ้างอิง
ศรีทนต์ บุญยานุกูล. ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา   คณะแพทยศาสตร์                                        มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คู่มือฝึกพูดเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง.โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
จังหวัดสมุทรปราการ .
และ http://www.specialed-center1.com

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การสังเกตพฤติกรรมในบุคคลออทิสติก

             การสังเกตพฤติกรรมในบุคคลออทิสติก 
บุคคลออทิสติก จะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ
     1.  ความสัมพันธ์ทางสังคม 

     2.  การสื่อสาร 
     3.  ความสนใจและกิจกรรม 

             ลักษณะพิเศษของบุคคลออทิสติก 
1. บกพร่องในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 
2. บกพร่องในด้านการสื่อสาร 
3. พฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปอย่างจำกัด และซ้ำ ๆ  บุคคลออทิสติกแต่ละคน มีความสามารถแตกต่างกันอย่างมาก ออทิสติกแต่ละคน จะแตกต่างกัน สภาพปัญหาต่างกัน แนวทางการรักษาจึงย่อมแตกต่างกัน

           สาเหตุการเกิดออทิสซึม 
    1.ทางพันธุกรรม อยู่ในระหว่างการศึกษา ค้นคว้า ยังไม่พบคำตอบที่  ชัดเจน แต่พบว่าฝาแฝด
จากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งเป็นออทิสติก อีกคนจะเป็นด้วย
    2.โรคติดเชื้อ ปัจจุบันยังไม่พบว่า เชื้อโรคชนิดใด ที่ก่อให้เกิด กลุ่มอาการออทิสซึม 
    3.ประสาทวิทยา จากการศึกษาของ Magaret Bauman กุมารแพทย์ จากโรงพยาบาล บอสตันซิติ พบว่า ออทิสติก จะมีความผิดปกติในสมอง 3 แห่ง คือ limbic system, cerebellum 
และ cerebellar circuits ปัจจุบัน พบว่า ในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง มีความผิดปกติ ดังนี้

1.Purkinje cells เหลือน้อยมาก 
2.ยังคงเหลือ "วงจร" เซลประสาท ซึ่งจะพบได้แต่ในตัวอ่อนเท่านั้น "วงจร" เซลประสาทที่
เหลือนี้จะเชื่อมต่อกับ ระบบประสาทส่วนกลางทั้งหมด
3.มีเซลประสาทเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในบริเวณ limbic system, hippocampus, 
amygdala

จากการค้นพบนี้ Bauman สรุปว่า ออทิสซึม มีความผิดปกติด้านพัฒนาการของสมองตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน ในระยะ 30 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ความผิดปกตินี้ ส่งผลให้ Limbic system ไม่มีการพัฒนา limbic system เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรม การรับรู้ และความจำ เมื่อบริเวณนี้ผิดปกติจึงมีผลให้ ความสัมพันธ์ทางสังคม ภาษาและการเรียน ผิดปกติไปด้วย (Bauman, 1991) 

4.Neurochemical Causes(สารประกอบทางเคมีในระบบประสาท) พบว่ามี neurotran
smittersบางตัว สูงผิดปกติ ได้แก่ serotonin, dopaminergic และ endogenous opioid 
systems แต่เมื่อใช้ยาที่ต้านสารเหล่านี้ กลับไม่ทำให้อาการต่าง ๆ ในออทิสซึมดีขึ้น
5.การบาดเจ็บ ก่อน ระหว่าง และหลังการคลอด

การศึกษาและทำความเข้าใจกับเด็กออทิสติก

                                   การศึกษาและทำความเข้าใจกับเด็กออทิสติก
          จาก DSM IV—The American Psychiatric Association's Diagnostic and Statistic 
Manualof Mental Disorders-Fourth Edition (1994)
—จัดออทิสติก เป็น "pervasive developmental disorders" ซึ่งก็คือมีความผิดปกติในด้าน
พัฒนาการอย่างรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านความ
สัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ ส่งผลให้มี พฤติกรรมความสนใจ และ
กิจกรรมที่ผิดปกติ


ลักษณะต่าง ๆ ในบุคคลออทิสติก 
1. เข้ากับคนอื่นได้ยาก หรือไม่ได้เลย  

2. ทำอะไรซ้ำ ๆ 
3. หัวเราะอย่างไม่มีเหตุผล
4. กลัวในสิ่งไม่สมควรกลัว
5. ไม่สบตาคน
6. ไม่ตอบสนองต่อการสอนตามปกติ
7. มีท่าทางการเล่นแปลก ๆ
8. อาจไว หรือไม่ไวต่อความเจ็บปวด 

9. ส่งเสียงประหลาด 
10. ชอบอยู่คนเดียว 
11. ไม่ชอบให้กอด
12. หมุนตัว หรือสิ่งของ 
13. กระตุ้นตัวเอง
14. หงุดหงิด งอแง โดยไม่มีเหตุผล 
15. เรียกไม่หัน 
16. ติดวัตถุ สิ่งของบางชิ้น 
17. กล้ามเนื้อใหญ่และเล็ก พัฒนาไม่ปกติ 
18. แสดงความต้องการไม่ได้ ใช้ท่าทาง หรือจับมือผู้อยู่ใกล้ไปหยิบของที่ต้องการ 

การสอนกีฬาเทนนิสบำบัด สำหรับเด็กออทิสติก..ตอน 1


กีฬาเทนนิสบำบัด
สำหรับเด็กออทิสติก


เป็นกิจกรรมที่ฝึกประสาทสัมผัสอวัยวะตา-มือ(hand-eye)ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะท่าตีประเภทต่างๆ   การฝึกสมาธิที่สำคัญ     ฝึกการเข้าจังหวะในการตีบอล   การควบคุมและบังคับทิศทางของบอล  และสุดท้ายเน้นกิจกรรมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง

จุดประสงค์ในการเรียน
เพื่อส่งเสริม บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้
เพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ ทักษะการคิด พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ

การเล่นกีฬาเทนนิสบำบั
กีฬาเทนนิส ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางสำหรับท่านผู้ปกครองนะคะ ในการช่วยให้น้องๆมีพัมนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่แจ่มใสขึ้น พลานามัยดีขึ้น

      พัฒนาการด้านร่างกาย

ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะสามารถทำงานได้ดีขึ้นมีแรงและกำลังมากขึ้นด้วยวิธีฝึกที่ถูกวิธี


      พัฒนาการด้านจิตใจ

ดังเช่นแน่นอนว่าน้องๆจะรู้สึกสนุกอยากทำตามได้เคลื่อนที่ ได้ความแปลกใหม่ ใบหน้าเปื้อนยิ้ม ผู้ปกครองยิ้มได้


      พัฒนาการด้านสมอง

ในการเรียนและเล่นเทนนิสจะมีการสอดแทรกความรู้ของกีฬาเทนนิสสอดแทรก และให้น้องๆคิดตามคอย ถามคอยพูดกับเค้า น้องๆออทิสติกเหล่านี้ ต้องยอมรับเลยว่าเค้ามีความฉลา ยู่ภายในทุกคนอยู่แล้วเพียงแต่ยังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้และทดลอง แล้วจะพบว่าเค้าเป็นเด็กที่น่ารัก พูดง่ายนะคะแต่อาจจะต้องมีวิธีการที่จะสื่อสารกับเค้าอย่างเข้าใจมากกว่า



อ้างอิงแหล่งที่มา
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. กิจกรรมบำบัด. [Online] 2549; Available from: URL: http://www.happyhomeclinic.com/occupationaltherapy.htm


วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

T-Train Tennis รับสอนเทนนิส สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน

T-Train Tennis รับสอนเทนนิส สำหรับผู้ใหญ่ 
(089-4840436 ครูกุ๊ก)

สำหรับผู้ที่สนใจและยังไม่มีพื้นฐานเลย สามารถเล่นได้
นอกสถานที่
 ย่านจุฬา  อารีย์  สุทธิสาร ดินแดง สะพานควาย จตุจักร พหลโยธิน

 วัตถุประสงค์   
สอนเทนนิสสำหรับผู้ใหญ่ เรียนเทนนิสเพื่อเสริมสร้างสรรมถภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมให้ดียิ่งขึ้น
เป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี
สามารถเล่นเทนนิสได้อย่างถูกต้อง รู้จักการป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่ถูกต้อง
สามารถนับคะแนนได้  รู้กฏกติกาที่ถูกต้อง
และสามารถตีโต้ได้อย่างสนุกสนาน

 รายละเอียดการเรียนการสอนระดับทักษะขั้นพื้นฐาน

**การเตรียมความพร้อมสำหรับการเล่นกีฬาเทนนิส
**ทักษะท่าทาง การจับไม้อย่างถูกต้อง
**ทักษะพื้นฐาน การตีโฟแฮนด์
**ทักษะพื้นฐาน การตีแบ็คแฮน
**ทักษะพื้นฐาน การvolley
**ทักษะพื้นฐาน การตบ
**ทักษะพื้นฐาน การเสิร์ฟ
**ทักษะพื้นฐาน การตีลูกกระดอนพื้นแบบหน้ามือและหลังมือ 
**ทักษะพื้นฐาน การส่งลูก 
**ทักษะพื้นฐาน การตีลูกที่ลอยอยู่ในอากาศ 
**ทักษะพื้นฐาน การตีลูกโด่งและการตบลูกเหนือศีรษะ 
**ทักษะพื้นฐาน การตีลูกหยอด 
**การนับคะแนนและคำสำคัญในการเล่นกีฬาเทนนิส 
**การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
และเทคนิคในการตีลูกต่างๆ กฎ กติกาต่าๆ การนับคะแนน และความมีน้ำใจนักกีฬา

 อัตราการเรียนเทนนิส
แบบที่1  คอร์สส่วนตัว
            อัตราค่าเรียน  3,000 บาท/คอร์ส/เดือน...เท่านั้น
แบบที่2  แบบมาเป็นคู่ กลุ่ม 2 คน
            อัตราค่าเรียน  2,000 บาท/คอร์ส/เดือน...เท่านั้น
แบบที่3  กลุ่มเพื่อนพ้องเฮฮา 4 คน
            อัตราค่าเรียน  1,500 บาท/คอร์ส/เดือน...เท่านั้น
รับประกันความสนุก ภายใน1เดือนต้องมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

 ท่านผู้ที่สนใจโปรดทราบ ตารางเวลาเรียนเทนนิส
วันศุกร์ เวลา 18.00น.-21.00น.
วันเสาร์ เวลา 20.00น.-22.00น.
วันอาทิตย์ เวลา 19.00น.-21.00น.
**เพื่อความสะดวกสอบถามก่อนได้เลยหรือจองชื่อล่วงหน้า**

 ขอการันตีด้วย ประกาศนียบัตรทางการสอน  มหาวิทยาลัยบูรพา
             การศึกษาปริญญาตรี วิทยศาสตรบัณฑิต  วิทยาศาสตร์การกีฬา  มหาวิทยาลัยบูรพา