วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เล่าเรื่อง….จาก….เรื่องจริง(เด็กพิเศษ)

เล่าเรื่อง….จาก….เรื่องจริง
กับครูกุ๊กสอนน้อง ( เด็กพิเศษ )
เขียนโดย: ชมพูนุท  คำแย้ม (วท.บ.วิทยาศาสตร์การกีฬา)

เมื่อ ปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสพบกับผู้ปกครองท่านหนึ่ง  ในขณะที่กุ๊กกำลังสอนเทนนิสอยู่สนาม ร..รุจิเสรี  ย่านสะพานควาย  หลังจากที่สอนเสร็จเรียบร้อย  ผู้ปกครองท่านนั้นก็เดินเข้ามาทักทายกุ๊ก  และเล่าให้ฟังว่า  “ผมมีลูกสาว คน  มีคนกลางเป็นเด็กพิเศษ  ไม่ทราบว่าครูกุ๊ก จะช่วยสอนลูกผมได้มั๊ย ในตอนนั้นน้องอายุ 14 ปี เริ่มเป็นสาวแล้ว( แต่กุ๊กก็ยังไม่เคยเห็นหน้าน้อง )คือ ลูกผมเคยเรียนเทนนิสมาบ้างแล้ว แต่ผมอยากให้ลูกเรียนกับครูที่เป็นผู้หญิงมากกว่าซึ่งมีความปลอดภัยดีกว่า เพราะน้องเริ่มเป็นสาวแล้วด้วย  ไม่ทราบว่า ครูกุ๊กสนใจไหม”..ในตอนนั้นกุ๊กตอบ..ตกลง.. โดยไม่ได้ลังเลใจเลยค่ะ  กุ๊กกลับบ้านไปรีบโทรบอกแม่ “ เนี่ยกุ๊กได้สอนเด็กพิเศษนะ แม่บอก ดีเลย ตั้งใจสอนล่ะ” เราเองก็ยังคิดว่า..แล้วเราจะสื่อสารกับน้องรู้เรื่องไหม  สอนอย่างไรก่อนหลัง ใช้กิจกรรมรูปแบบไหน  มีคำถามกับตัวเองเยอะแยะไปหมด เลยเริ่มอ่านหนังสือ หาข้อมูลมากขึ้น

จนเวลาผ่านไป 1 อาทิตย์  ได้เจอกับน้องคุณพ่อก็แนะนำให้เรารู้จักกัน  แว้บแรกที่เห็นก็รู้สึกเลยว่าน้องเค้าดูบริสุทธิ์ สดใส  มีแค่แววตาที่ไม่สบตาเรา  อาจด้วยไม่คุ้นเคยเจอกันครั้งแรก  เรากํเริ่มคุยกันมากขึ้น และเราได้ซักถามเกี่ยวกับตัวน้องในเบื้องต้นด้วยว่า  น้องมีลัษณะอาการอย่างไรบ้าง  อารมณ์ปกติเป็นอย่างไรบ้าง  อารมณ์ดีเป็นอย่างไรและเวลาโมโหเป็นอย่างไร ก็ได้รู้ว่า  น้องเป็นเด็กที่อารมณ์ดี  ชอบร้องเพลง ที่สังเกตเห็นอีกก็คือ ไม่ค่อยสบตาเวลาที่พูด  ชอบกระโดด  การใช้ภาษายังไม่ถูกต้อง  ( ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลที่ได้ศึกษาว่าเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างไร ) โดยรวมน้องเป็นเด็กน่ารัก มีบางครั้งน้องเข้ามากอดเรา เราก็กอดเค้านะ (แอบน้ำมีน้ำตานิดนึง..)ความรู้สึกมันบอกไม่ถูก คิดว่าเค้าควรจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด  ในแต่ละครั้งที่สอนก็จะหากิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างในเรื่องของทักษะเทนนิส มาอยู่ในรูปแบบของเกมส์  แต่ละกิจกรรมจำต้องมีการปฏิบัติซ้ำๆหลายครั้ง  เพื่อให้น้องจดจำได้แต่พิเศษมากสำหรับเด็กพิเศษ  เค้าสามารถที่จะจดจำได้ดีและทำได้ถูกต้อง  แต่ต้องใช้เวลานิดนึงค่ะ เมื่อเค้าทำซ้ำเค้าจะจำได้ดี  แล้วก็ทบทวนอีกรอบ  จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นกิจกรรมอืนที่เกี่ยวเนื่องกัน  ทำเป็นขั้นตอนเมือนที่สอนเด็กปกติเลยค่ะแต่ที่ยากกว่าคือการสื่อสาร  การถ่ายทอดให้เข้าใจตรงกันสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ส่วนหนึ่งต้องพยายามให้ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  ให้ทำตาม  ให้ทำซ้ำ  ทำไปด้วยกัน  ให้ทำเองเวลาที่เราต้องการให้เค้าทำอะไรสักอย่าง ที่เค้ายังไม่เคยทำ ครูผู้สอนจะต้องมีจินตนาการ และสร้างจินตนาการให้น้องได้เข้าใจมากขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น  ให้น้องตีลูกเสิร์ฟ ก็ต้องโยนบอลให้นิ่งก่อน  จังหวะที่โยนบอลต้องสัมพันธ์กับการตีบอลจึงจะเสิร์ฟได้ จังหวะที่โยนบอลเราต้องทำให้เค้าดูก่อน  เค้าทำตาม  ทำไปพร้อมกัน  ให้ทำเอง แล้วบอกให้พูดด้วยเวลาโยนว่า โยนขึ้นท้องฟ้า แล้วรับให้ได้ ทำซ้ำจนกว่าจะทำได้

กุ๊กโชคดีมาก  ที่น้องเป็นเด็กน่ารัก อารมณ์ดี พูดง่ายและเราสื่อสาร  สนทนากันได้ดีขึ้น  เวลาสอนก็ตั้งใจดี  ทำซ้ำๆเค้าก็จะจำได้เองและในเกือบจะทุกครั้งที่เรียนเสร็จ จะพูดคุยกับคุณพ่อหรือไม่ก็คุณแม่  ถามไถ่ว่าในชั่วโมงน้องเป็นอย่างไรบ้าง  จนระยะเวลาผ่านมา  1 ปี ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของน้อง  สูงขึ้น   ดูแข็งแรงดี  การเรียนเทนนิสของน้องก็ดีขึ้นตามลำดับ ตีโฟแฮนด์  แบ็กแฮนด์  ตีโต้ได้มากขึ้นข้อดีของน้องที่อยากให้ทุกคนเอาแบบอย่างคือ  ตามบอลทุกบอล  มีความตื่นตัวตลอดเวลาถ้าเมื่อไรคุณมีสมาธิ คุณก็สามารถตีได้เช่นกัน  ถ้าเมื่อไหร่ คุณขาดสมาธิ ไม่ว่าจำทำอะไรก็ไม่สำเร็จ

ปีผ่านไปมีเรื่องเล่าต่างๆมากมาย เราไม่เพียงคุยกับเค้าแค่เรื่องตีเทนนิส แต่ก็จะคอยบอกเค้าในเรื่องการช่วยเหลือตัวเองและผู้หญิงต้องระมัดระวังอะไรบ้าง ค่อยๆพูดซ้ำให้เค้าจำได้  เรื่องดูแลร่างกายตนเอง  แม้แต่เวลาที่น้องเช็ดหน้าเวลาที่เหงื่ออก ก็ทำให้เค้าดูว่าเช็ดเบาๆทำอย่างไร เช็ดแรงแล้วจะเป็นอะไร เค้าก็จะจดจำสิ่งที่เราพูดได้ แล้วก็เป็นอย่างนั้นจริงๆน้องความจำดีค่ะ ความยากอยู่ตรงที่วิธีทำอย่างไรให้เค้าเข้าใจสิ่งที่เราสื่อสารกันมากกว่า  น้องไม่เคยทำให้กุ๊กรู้สึกอึดอัดใจหรือเบื่อ หรือกลัวจะสอนไม่ได้ไม่มีเลยค่ะดีใจค่ะ  มีความสุขทุกครั้ง  เห็นน้องยิ้ม อารมณ์ดี เราก็ดีใจค่ะ  เวลาคุณแม่น้อง ชมน้องว่า “ ตีเก่งขึ้น เก่งจังเลย ” มีความสุขค่ะ นี่ค่ะความสุขทีสัมผัสได้

จนถึงปัจจุบัน  น้องยังคงเรียนเทนนิสอยู่ทุกสัปดาห์และตอนนี้น้องก็สามารถเล่นเซ็ท ตีเกมส์ เข้าใจกติกาการเล่นเทนนิส การนับคะแนนได้ด้วยค่ะ เก่งมากๆค่ะ  ขอชื่นชมเลยค่ะสำหรับคุณพ่อคุณแม่ของน้องที่ทุ่มเท สละเวลาเพื่อลูกคนนี้  มานั่งรอน้องทุกครั้ง  เอาหนังสือมาอ่าน  มานั่งทำงาน  ทุ่มเททุกอย่างกับลูกจริงๆ  ถ้าไม่มีคุณพ่อคุณแม่ที่คอยให้ความรัก การเอาใจใส่ อดทน ทุ่มเท หาสิ่งที่ดีทีสุดให้กับน้อง แน่นอนว่า..คงจะไม่มีสิ่งดีเกิดขึ้นแบบนี้

               กุ๊ก..ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ทำสิ่งดีนี้ด้วยนะคะ  โดยการสอนเทนนิสให้กับเด็กพิเศษเหล่านี้ เพื่อช่วยพัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกายเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อได้ทำงานปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น อารมณ์แจ่มใส สนุกสนานผ่อนคลายมากขึ้น ขอบคุณน้องที่ทำให้กุ๊กมีความสุขในการสอนทุกครั้ง  และได้ถ่ายทอดประสบการณ์จริงผ่านเรื่องราวในครั้งนี้

ขอขอบคุณ: น้องเกณฑ์บุคคลต้นเรื่อง












วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Tennis เทนนิส...กับน้องๆออทิสติก…สำคัญอย่างไร

Tennis เทนนิส...กับน้องๆออทิสติกสำคัญอย่างไร
เขียนโดย...ชมพูนุท  คำแย้ม ( วท.บ.วิทยาศาสตร์การกีฬา)

เทนนิส Tennis เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่มีความสำคัญกับน้องๆมาก  ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับลูกๆของเราในการเล่นเทนนิสเพื่อพัฒนาการทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคมที่ดีขึ้น

เทนนิส Tennis เป็นกีฬา ที่มีการเล่นเฉพาะตัวที่สนุกสนานมากๆ  มีอุปกรณ์ที่ใช้ คือ ไม้เทนนิส+ลูกเทนนิส+สนามเทนนิส+ผู้เล่น 2 คนขึ้นไปจะเห็นได้ว่า มีลักษณะการเล่นที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา และยังได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกด้วย

เพราะฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้ามีโอกาสลองพาลูกของคุณมาทำความรู้จักกับกีฬาเทนนิสดูนะคะอย่าคิดว่า  ลูกเราทำไม่ได้ ยากจังแท้จริงแล้ว..น้องๆทุกคนสามารถเรียนรู้ได้

เทนนิส Tennis เป็นกีฬาทีช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก อีกทั้งฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลาฝึกการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆในการทำงานร่วมกันฝึกการทำงานของสมอง ประสาทสัมผัสระหว่าง ตา-มือ-เท้า ให้ดีมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญจะมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบมากขึ้น หมายถึง  น้องๆต้องวางแผน คิดเป็นขั้นตอน ยกตัวอย่างเช่น  การเสิร์ฟน้องๆจะต้องรู้ว่า  การเสิร์ฟ มีการจัดท่าทางอย่างไร  ต้องยืนเสิร์ฟตรงจุดไหน  ต้องโยนบอลอย่างไร  ต้องโยนบอลสูงประมาณไหน จึงจะสามารถเสิร์ฟข้ามตาข่าย
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า  กระบวนการคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้  ควรจะมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง รับรองได้ว่าน้องๆจะต้องมีพัฒนาการทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคมที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน


สุดท้าย  ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม
กีฬา ก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราจะขาดมันไม่ได้  รู้อยู่แล้วว่าออกกำลังกายแล้วมีประโยชน์อย่างไร  แต่ไม่ปฏิบัติไม่มีเวลา คุณเคยคิดหรือไม่ว่าถ้าร่างกายไม่แข็งแรง ก็คงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างแน่นอน

ป้องกันไว้ก่อนด้วยการออกกำลังกาย
ก่อนที่จะไม่สบายต้องไปพบหมอ….t train tennis  ครูกุ๊ก

โปรดติดตาม     เล่าเรื่องจากเรื่องจริง(ของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง)
                              ผู้ปกครองควรติดตาม



วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กีฬาเทนนิสบำบัด สำหรับเด็กออทิสติก..ตอน 2

กีฬาเทนนิสบำบัด
สำหรับเด็กออทิสติก

เป็นกิจกรรมกีฬาที่ฝึกประสาทสัมผัสอวัยวะตา-มือ(hand-eye)ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะท่าตีประเภทต่างๆ   การฝึกสมาธิที่สำคัญ     ฝึกการเข้าจังหวะในการตีบอล   การควบคุมและบังคับทิศทางของบอล  และสุดท้ายเน้นกิจกรรมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง

จุดประสงค์ในการเรียน
เพื่อส่งเสริม บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้
เพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ ทักษะการคิด พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ

การเล่นกีฬาเทนนิสบำบั
กีฬาเทนนิส ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางสำหรับท่านผู้ปกครองนะคะ ในการช่วยให้น้องๆมีพัมนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่แจ่มใสขึ้น พลานามัยดีขึ้น

      พัฒนาการด้านร่างกาย

ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะสามารถทำงานได้ดีขึ้นมีแรงและกำลังมากขึ้นด้วยวิธีฝึกที่ถูกวิธี


      พัฒนาการด้านจิตใจ

ดังเช่นแน่นอนว่าน้องๆจะรู้สึกสนุกอยากทำตามได้เคลื่อนที่ ได้ความแปลกใหม่ ใบหน้าเปื้อนยิ้ม ผู้ปกครองยิ้มได้


      พัฒนาการด้านสมอง

ในการเรียนและเล่นเทนนิสจะมีการสอดแทรกความรู้ของกีฬาเทนนิสสอดแทรก และให้น้องๆคิดตามคอย ถามคอยพูดกับเค้า น้องๆออทิสติกเหล่านี้ ต้องยอมรับเลยว่าเค้ามีความฉลา ยู่ภายในทุกคนอยู่แล้วเพียงแต่ยังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้และทดลอง แล้วจะพบว่าเค้าเป็นเด็กที่น่ารัก พูดง่ายนะคะแต่อาจจะต้องมีวิธีการที่จะสื่อสารกับเค้าอย่างเข้าใจมากกว่า



อ้างอิงแหล่งที่มา
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. กิจกรรมบำบัด. [Online] 2549; Available from: URL: http://www.happyhomeclinic.com/occupationaltherapy.htm


วิธีการจัดการดูแลเด็กออทิสติกเมื่อเด็กดื้อ


วิธีการจัดการดูแลเด็กออทิสติกเมื่อเด็กดื้อ

การแสดงออกถึงพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกนั้นมีลักษณะ และความรุนแรงแตกต่างกันไป
โดยแบ่งได้เป็น 3  ประเภท  ที่พบเห็นได้บ่อยคือ
      1. ทำร้ายตนเอง  เช่น  ตีศีรษะ  โขกศีรษะกับพื้น  กัดมือตนเอง  กระแทกตัวกับเก้าอี้
      2. ทำร้ายผู้อื่น  เช่น  ตบหน้า  กัด ใช้นิ้วจิ้มตา  เตะถีบ  ดึงผม  ล็อคคอ  กระชากคอเสื้อ
      3. ทำลายสิ่งของ  เช่น  ล้มตู้  คว่ำถาดอาหาร  ทุ่มเก้าอี้  ขว้างปาข้าวของ

เทคนิคและวิธีการจัดการดูแลเด็กออทิสติกเมื่อเด็กดื้อ

1. ยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของเด็กในขณะนั้น แต่ต้องไม่ยอมรับพฤติกรรมนั้น

2. หยุดพฤติกรรมนั้นทันทีเมื่อเห็นว่าเป็นอันตรายต่อเด็ก ผู้อื่น และทรัพย์สิน

3. แยกเด็กออกจากกลุ่มหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย

4. พูดคุยปลอบโยน เข้าหาเด็กด้วยท่าทีสงบมั่นคง พูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล และไม่แสดงท่าทีคุกคามเด็กหรือตะโกนดุด่า

5. ค้นหาสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าว แยกเด็กออกจากสิ่งเร้านั้น และตอบสนองความต้องการตามความเหมาะสม

6. การแสดงความก้าวร้าว บางครั้งอาจเกิดจากการเรียกร้องความสนใจ หากผู้ปกครองพิจารณาแล้วไม่เกิดอันตรายให้นิ่งเฉยไม่ต้องสนใจ ไม่นาน เด็กจะหยุดพฤติกรรมเอง

7. การผูกมัด ใช้ในกรณีที่เด็กมีความก้าวร้าวรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นรวมทั้งทรัพย์สิน แต่อย่ามัดแน่นจนเกินไป และหมั่นตรวจดูบริเวณที่มัดไม่ให้เกิดรอยเขียวช้ำหรือบาดแผล

8. เมื่อเด็กสงบลง ชี้แจงเหตุผลที่ไม่ควรแสดงพฤติกรรมดังกล่าว และเหตุผลของการผูกมัด และตกลงเงื่อนไขกับเด็ก เช่น ถ้านั่งเฉยๆ ไม่อาละวาดอีก อีก 10 นาทีจะแก้มัดให้ และต้องทำตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด

9. ให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ถ้าเด็กอาละวาด ขว้างปา
ข้าวของให้เด็กเก็บของนั้นเข้าที่ให้เรียบร้อย หรืออาจลงโทษเด็กโดยงดกิจกรรมที่เขาชอบในวันที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว

10. จัดให้เด็กมีพฤติกรรมที่ฝึกการควบคุมตนเอง และได้ระบายอารมณ์อย่างเหมาะสม เช่น เล่นกีฬา ให้รับผิดชอบงานง่ายๆ เช่น เช็ดโต๊ะ

11. กล่าวคำชมเชย เมื่อเด็กสามารถควบคุมอารมณ์และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

12. ทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างในการไม่ใช้อารมณ์รุนแรงในการแก้ปัญหา

13. คอยสังเกตและป้องกันเหตุการณ์ที่คาดว่าจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว

14. ในบางรายที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากอาจปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาให้ยาเพื่อลดและควบคุมพฤติกรรม
คำว่า “ ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ” นั้นใช้ได้กับทุกคนไม่เว้นแต่เด็กออทิสติก ดังนั้นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมของเด็กนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรตระหนักถึงความสำคัญ และช่วยกันแก้ไข วิธีการดังกล่าวข้างต้นอาจใช้ไม่ได้ผลกับเด็กทุกคน ทุกข้อ ไม่มีข้อใดผิดข้อใดถูก ต้องปรับใช้ผสมผสานกันไปให้เหมาะสมกับตัวเด็กและครอบครัวซึ่งอาจได้ผลบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้เขาเป็นเด็กออทิสติกที่น่ารักของทุกคนต่อไป


ขอขอบคุณ อ้างอิงข้อมูลจาก: http://www.yuwaprasart.com โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมถ์

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คอร์สการสอนเทนนิสขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ใหญ่ ( ชมรมเทนนิส ThaiBev )


คอร์สการสอนเทนนิสขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ใหญ่ 
( ชมรมเทนนิส ThaiBev )



                 จุดประสงค์ในการเรียนเทนนิส
         1. เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคมให้ดียิ่งขึ้น
         2. เป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้นและสุขภาพจิตที่ดี
         3. สามารถเล่นกีฬาเทนนิสได้อย่างถูกต้อง  และรู้จักการป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬาเทนนิสไดอย่างถูกต้อง
         4. สามารถนับคะแนนได้ และรู้จัก กฏ กติกาที่ถูกต้อง
         5. สามารถตีโต้ได้อย่างสนุกสนาน
         6. มีน้ำใจนักกีฬา







ขอขอบคุณพี่ๆทุกคนที่ตั้งใจเรียนเทนนิสกันอย่างสนุกสนานนะคะ
T Train Tennis

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Backhand tennis..กับวงสวิงแบ็กแฮนด์ของนักเทนนิสมือ 1 โลกล่าสุด

Novac Djokovic
นักเทนนิสชาวเซอเบีย
แชมป์มือ 1 ของโลกล่าสุด  ATP

ลีลาหนุ่มหล่อ




Maria  Sharapova

นักเทนนิสชาวรัสเซีย
อันดับ 3 ของโลก  WTA

มาดูลีลาสาวสวยคนนี้กันบ้าง



ขอขอบคุณเว็บไซด์  youtube

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Forhand tennis..กับวงสวิงของนักเทนนิสระดับโลก


Li Na
นักเทนนิสสาวชาวจีน
WTA  อันดับ 6  ของโลกล่าสุด

มาดูลีลา..กับการตีเทนนิสโฟร์แฮนด์..ของเธอ




Novak  Djokovic

นักเทนนิสชาวเซอเบีย
ATP  อันดับ 1  ของโลกล่าสุด

ลีลาท่าทางการตีเทนนิสโฟร์แฮนด์


ขอขอบคุณเว็บไซด์  youtube